18 กุมภาพันธ์ 2567 ครบรอบ 48 ปี "พลศึกษาอ่างทอง"
วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จัดโครงการทำบุญวันก่อตั้งมหาวิทยาลัยญ ครบรอบ 48 ปี
โครงการวันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(กิจกรรมวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ)
โครงการวันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
11 สิงหาคม 2566 ม.กีฬาฯ อ่างทอง จัดกิจกรรม(กิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
TNSU. ต่อต้านคอร์รัปชั่น
มกช.ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นตามนโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส
© Thailand National Sports University Ang Thong Campus

PawatPoomlang

cpelogo  วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทองและวิทยาลัยชุมชนเกษไชโย

         วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง ตั้งอยู่เลขที่  39  หมู่ที่ 8  ตำบลไชยภูมิ  อำเภอไชโย  จังหวัดอ่างทอง จัดตั้งขึ้นประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2519 ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดการศึกษาเพื่อผลิตครูพลศึกษาให้เพียงพอและสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
          ในปี พ.ศ. 2513  วิทยาลัยพลศึกษาส่วนกลาง ของกรมพลศึกษา ซึ่งตั้งมาตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2498 ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา (พลศึกษา) โดยถือเป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร) สังกัดกรมการฝึกหัดครู แต่ได้มอบหมายให้ กรมพลศึกษารับผิดชอบในการผลิตครู  พลศึกษา ระดับปริญญาตรีและในปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา (พลศึกษา) ได้โอนเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร และ ต่อมาได้เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพลศึกษา แต่อัตรากำลังบางส่วนยังคงสังกัดกรมพลศึกษา โดยเรียกส่วนงานนี้ว่า “วิทยาลัยพลศึกษาส่วนกลาง" ไม่เปิดรับนักศึกษา
           สำหรับวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519  ได้มีการประชุมศึกษาธิการเขตการศึกษาขึ้น ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดย ศาสตราจารย์ดร.บุญสม   มาร์ติน อธิบดีกรมพลศึกษา ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่า จะมีการพิจารณาจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นทุกเขตการศึกษา เขตการศึกษาละ 1 แห่ง ในการประชุมครั้งนั้น นายสำราญ ปกป้อง ศึกษาธิการเขตการศึกษา 6 ได้นำนโยบายมาปรึกษากับ นายสงวน  สาริตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และ  นายกมล เสมอเหมือน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ในขณะนั้น ร่วมกับคณะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดอ่างทองอีกหลายท่าน คณะบุคคลดังกล่าวได้พิจารณาหาสถานที่ที่ใช้ในการก่อตั้ง และพบว่า สถานที่ของศูนย์ฝึกอบรมอาชีพผู้ใหญ่ ศูนย์บางขัน (เดิม) ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย  จังหวัดอ่างทอง มีเนื้อที่ 141 ไร่ 67 ตารางวา เป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมที่สุด ดังนั้น  นายสงวน สาริตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง จึงได้เสนอไปยังกรมพลศึกษา เพื่อนำเสนอกระทรวง ศึกษาธิการ และ   นายประชุม รัตนเพียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีความเห็นชอบ ได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง ขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519  
          ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนระยะแรก ได้ทำการผลิตครูพลศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (พลศึกษา) และปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง  ในปีการศึกษา 2533 วิทยาลัยครูเทพสตรี และวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการ ผลิตบุคลากรระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาการฝึกและการจัดการกีฬา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 – 2534 รวม 2 รุ่น และในปีการศึกษา 2535 ได้พัฒนาหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ขึ้นใหม่เป็นหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา (การฝึกและการจัดการกีฬา)ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง  ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเกษไชโย  ในวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง โดยมีนโยบายเพื่อขยายการบริการด้านการศึกษาให้กับชุมชน และเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา หลักสูตรที่เปิดสอนมีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระยะยาว

ipeatlogo  สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอ่างทอง

          เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548 ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอ่างทอง ให้จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมุ่งผลิตและพัฒนาบุคลากรทางพลศึกษา การกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ นันทนาการ และบุคลากรในด้านที่เกี่ยวข้อง มีภารกิจในการทำการ สอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการ การบริการชุมชน การใช้และพัฒนาเทคโนโลยี เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แก่ท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษทางกีฬา นันทนาการ และบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย รวมถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน และกีฬาไทย  ปีการศึกษา 2548 สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตอ่างทอง มีการจัดการเรียนการสอนระดับต่าง ๆ ตามหลักสูตรดังต่อไปนี้

                    ระดับปริญญาตรี

                       - หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา โปรแกรมวิชาพลศึกษา เป็นหลักสูตร 5 ปี ของสถาบันการพลศึกษา

                        - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นหลักสูตร 4 ปี ของสถาบันการพลศึกษา

                        - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานันทนาการ โปรแกรมวิชาผู้นำนันทนาการ ของสถาบันการพลศึกษา

 tnsuatglogo  มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง

              ปี พ.ศ.2562 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2562  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา

               มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง ได้เริ่มจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีตามหลักสูตรมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รุ่นแรกในปีการศึกษา 2562 จัดการศึกษา แบ่งเป็น 3 คณะ คือ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ คณะศิลปศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์

 (พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2562)

golden stars

นโยบายคุกกี้

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี เรียนรู้เพิ่มเติม นโยบายการใช้คุกกี้

SultanToto: Situs Judi Online Togel Terpercaya Dengan Winrate Tinggi Dijamin Mudah JP